ตัวอย่างและกรณีศึกษา ของ การฟื้นเห็นเป็น 3 มิติ

น.พ. โอลิเวอร์ แซ็กส์ (ถึงแก่กรรมแล้ว) เป็นบุคคลแรกที่เล่าเรื่องของ ซูซาน บาร์รีย์ ที่เขาใช้นามแฝงว่า "Stereo Sue" (ซูผู้เห็นเป็น 3 มิติ) แก่สาธารณชนผ่านหนังสือของเขา

การเห็นเป็นภาพเดียวด้วยสองตาได้รายงานว่าเกิดในผู้ใหญ่บางคนโดยเป็นผลของการรักษารวมทั้งการผ่าตัดกล้ามเนื้อตาและการบำบัดการเห็น หรือแม้กระทั่งเกิดเองหลังจากการดูภาพยนตร์ 3 มิติ

รายงานบุคคลในหนังสือ Fixing my Gaze

กรณีดังที่สุดซึ่งคนไข้ได้คืนการเห็นเป็น 3 มิติ ก็คือของนักประสาทวิทยาศาสตร์ ดร. ซูซาน อาร์ บาร์รีย์ ผู้มีอาการตาเหล่วัยทารก (infantile esotropia) สลับกับการเห็นภาพซ้อน แต่ไม่มีอาการตามัว ได้รับการผ่าตัดกล้ามเนื้อตาในวัยเด็กแต่ก็ไม่สามารถเห็นเป็นภาพเดียวด้วยสองตาในเวลานั้น ต่อมาจึงฟื้นสภาพจากการไม่เห็นเป็น 3 มิติในวัยผู้ใหญ่หลังจากรักษาด้วยการบำบัดการเห็น (vision therapy) ซึ่งนักตรวจปรับสายตา (optometrist) เป็นผู้อำนวยและต่อมาเป็นกรณีที่รายงานในบทความในวารสารรายสัปดาห์ The New Yorker ปี 2549 ของประสาทแพทย์นักเขียน นพ. โอลิเวอร์ แซ็กส์[8]นอกจากนั้น นักประสาทสรีรวิทยา ศ. เดวิด เฮ็ช ฮูเบล ผู้ได้รับรางวัลโนเบลในปี 2524 เนื่องจากการค้นพบเกี่ยวกับการประมวลผลของระบบการเห็น ก็ได้ให้ความคิดเห็นที่ดีในกรณีนี้[9]ในปี 2552 ดร. บาร์รีย์เองได้พิมพ์หนังสือ Fixing My Gaze: A Scientist's Journey into Seeing in Three Dimensions และรายงานการได้คืนการเห็นเป็นสามมิติของตนเองและของคนไข้อื่น ๆ[10]ซึ่งเธอได้เขียนรายละเอียดถึงความแปลกใจ ความดีใจ และประสบการณ์ต่อ ๆ มาเมื่อได้เห็นเป็น 3 มิติอย่างปัจจุบันทันด่วน

ศ. ฮูเบลได้เขียนเกี่ยวกับหนังสือไว้ว่า

มันเชื่อกันอย่างกว้าขวางว่า ผู้ใหญ่ที่ตาเหล่ตั้งแต่วัยทารก จะไม่สามารถได้การเห็นเป็น 3 มิติ แต่ก็เป็นเรื่องแปลกใจสำหรับทุกคน เพราะบาร์รีย์ได้ในหนังสือ Fixing my Gaze เธอได้พรรณนาว่ามันเยี่ยมขนาดไหน ที่โลกใหม่ 3 มิตินี้ได้เปิดเผยให้เธอเห็นอย่างเป็นขั้น ๆ ในฐานะเป็นนักชีววิทยาประสาทคนหนึ่ง เธอจึงสามารถกล่าวถึงวิทยาศาสตร์ในฐานะผู้ชำนาญการ ด้วยภาษาธรรมดา ๆ

David H. Hubel ผู้ได้รับรางวัลโนเบลสาขาสรีรวิทยาหรือการแพทย์ เป็นศาสตราจารย์กิตติคุณ John Franklin Enders สาขาชีววิทยาประสาทศาสตร์แห่งมหาวิทยาลัยการแพทย์ฮาร์วาร์ด[11]

หนังสือยังมีรายงานของผู้อื่น ๆ ที่มีประสบการณ์คล้ายกันในการได้การเห็นเป็น 3 มิติ คือ ดร. บาร์รีย์ได้อ้างอิงประสบการณ์ส่วนตัวของบุคคลหลายคนรวมทั้ง

  • ศิลปินชายผู้กล่าวถึงประสบการณ์การเห็นเป็น 3 มิติว่า "เขาสามารถมองเห็นพื้นที่รอบ ๆ และระหว่างวัตถุต่าง ๆ ได้ดีกว่าเป็นร้อยเท่า"[12]
  • หญิงที่ตามัวก่อนจะเห็นเป็น 3 มิติผู้กล่าวว่า พื้นที่โล่ง ๆ "ดูเหมือนและรู้สึกเหมือนจะจับได้ เป็นของจริง มีชีวิตชีวา!"[13]
  • หญิงตาเหล่ตั้งแต่อายุ 2 ขวบแล้วต่อมาเห็นภาพเป็น 3 มิติหลังจากการบำบัดการเห็น ผู้กล่าวว่า "ที่เลิศที่สุดก็คือ ความรู้สึกว่าตนได้อยู่“ภายในมิติ”"[14]
  • หญิงผู้รู้สึกตกใจเพราะประสบการณ์ที่อยู่ดี ๆ ก็เห็นต้นไม้และป้ายตามข้างถนนวิ่งทะมึนเข้ามา[15]
  • หญิงสองคนผู้ได้การเห็นเป็น 3 มิติอย่างฉับพลันโดยสามารถเห็นโลกเป็นมุมกว้าง โดยคนแรกกล่าวว่า "ฉันสามารถมองเห็นโลกได้มากกว่าที่เคยเห็น" และคนที่สองกล่าวว่า "มันน่าทึ่งมากเมื่อการมองเห็นรอบ ๆ ของฉัน อยู่ดี ๆ ก็เต็มทั้งสองข้าง".[16]

สิ่งที่สามัญสำหรับ ดร. บาร์รีย์ และอย่างน้อยบุคคลอีกคนที่เธอรายงานก็คือความรู้สึกในใจเกี่ยวกับปริภูมิรอบ ๆ ตัวได้เปลี่ยนไปหลังจากเห็นเป็น 3 มิติและแม้ตาหนึ่งจะปิด ก็ยังรู้สึกเหมือนเห็น "มากกว่า" เทียบกับการเห็นด้วยตาเดียวก่อนจะเห็นเป็น 3 มิติ[16]

แม้จะมองไม่เห็นเป็น 3 มิติ ศ. บริดจ์แมนได้ใช้แว่นโพลาไรซ์ดูหนัง 3 มิติแล้วกลับเห็นเป็น 3 มิติโดยทันที

กรณีอื่นในสื่อ

นอกจาก ดร. บาร์รีย์ แล้ว ยังมีนักประสาทวิทยาศาสตร์อีกคนหนึ่งที่ก่อนหน้าเป็นผู้มองไม่เห็นเป็น 3 มิติ แต่ภายหลังเกิดการเห็นเป็น 3 มิติ ซึ่งได้รับความสนใจจากสื่อ คือ ศ. (จิตวิทยา) บรูซ บริดจ์แมน แห่งมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนียซานตาครูซเขาเติบโตขึ้นเกือบจะมองไม่เห็นเป็น 3 มิติ แต่ก็ได้สมรรถภาพนี้เองในปี 2555 เมื่ออายุ 67 ปี ในขณะที่ดูภาพยนตร์ 3 มิติ ปริศนามนุษย์กลของอูโก้ ด้วยแว่นโพราไลซ์คือฉากการแสดงปรากฏแก่เขาเป็น 3 มิติ และการเห็นโลกเป็น 3 มิติก็ดำรงต่อไปแม้หลังออกจากโรงภาพยนตร์ไปแล้ว[17][18][19]

แหล่งที่มา

WikiPedia: การฟื้นเห็นเป็น 3 มิติ http://www.google.ca/patents/US20120179076?hl=en http://www.aetna.com/cpb/medical/data/400_499/0489... http://www.bbc.com/future/story/20120719-awoken-fr... http://f1000.com/posters/browse/summary/1089361 http://cdn.f1000.com/posters/docs/66836449 http://www.google.com/patents/WO2003092482A1?hl=en http://www.google.com/patents/WO2009053917A1?hl=en http://journals.lww.com/optvissci/Abstract/2014/06... http://www.medicalnewstoday.com/articles/259547.ph... http://www.nature.com/eye/journal/v20/n3/full/6701...